Skip to content
บริษัทกล้องวงจรปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย No.1 Security camera compay
บริษัทกล้องวงจรปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย No.1 Security camera compay
Happyfamily-Meeting facilitation การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการประชุม-กล้องวงจรปิด-Watashi CCTV

Meeting facilitation การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการประชุม

ภาชนะ ใช้แทนความปลอดภัยและความไว้วางใจในกานสนทนาของคนในกลุ่ม

คนในกลุ่มพยายามที่จะหาวิธีการทำงานร่วมกันเป็นทีมให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาทั้งต่อสู้ โต้เถียง เมินซึ่งกันและกัน รวมถึงการโวยวายใส่ผู้ฝึกสอน ซึ่งทั้งกลุ่มคงอารมณ์ที่รุนแรงไว้เพื่อให้พวกเขาสามารถยังคงแสดงออกได้และยังมีความอ่อนไหวอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม พวกเขาก็ไม่สามารถที่จะให้อ่อนลงได้เพื่อที่จะได้สามารถรับฟังซึ่งกันและกันได้อย่างสมบูรณ์

ในแง่หนึ่ง ภาชนะมีความแข็งแกร่งมาก - พวกเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรงได้ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ภาชนะก็มีความอ่อนเช่นกัน - กลุ่มไม่ได้ใช้ทัศนคติที่สนับสนุนการใฝ่หาการเรียนรู้ต่ออารมณ์และไม่มีที่ว่างสำหรับการตัดสินอย่างมีประสิทธิภาพ ประสบการณ์นั้นได้ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า จะอธิบายคำว่า “ภาชนะที่แข็งแกร่ง ของกลุ่มได้อย่างไร ในขณะที่มันเป็นภาชนะที่อ่อนในเวลาเดียวกัน? หากเรามองว่าภาชนะมีองค์ประกอบหรือคุณลักษณะที่แตกต่างกัน (เช่น การใฝ่หาการเรียนรู้) เราจะพัฒนาทฤษฎีของ ภาชนะ ได้อย่างไรเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์นี้และสถานการณ์อื่น ๆ ได้ดีขึ้นในฐานะผู้ฝึกสอน

ขณะนี้ ผู้ฝึกสอนบางคนได้ใช้การอุปมาของ “ภาชนะ เพื่ออธิบายว่า ความปลอดภัยและความไว้วางใจภายในกลุ่มมีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ภาชนะ เฉกเช่นหม้อที่ใช้ในการต้มและตุ๋น ทำการสนับสนุนการแสดงออกทางอารมณ์และความแตกต่างเมื่อเขาทำการเรียนรู้ภายในกลุ่มด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ภาชนะไม่ได้เป็นเพียงหม้อทั่วไปเท่านั้น แต่มันก็ยังมีภาชนะอีกหลายประเภท (เช่น ภาชนะที่ทำด้วยอลูมิเนียม เทฟลอน ฯลฯ ) เมื่อเราเริ่มดูองค์ประกอบที่แตกต่างกันของกลุ่มภาชนะต่าง ๆ เราสามารถจะชื่นชมว่าแต่ละกลุ่มหรือแต่ละงานที่แตกต่างออกไปอาจต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ซึ่งมันจะสามารถช่วยให้เราเลือกกิจกรรมการสร้างภาชนะได้อย่างระมัดระวังมากขึ้น

ต่อไปนี้คือ 7 องค์ประกอบของภาชนะ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Personal Leadership

  1. การสังเกตการตัดสิน

การตัดสินสามารถปกป้องไม่ให้เราได้เห็นในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้ในปัจจุบัน โดยการนำพาเราเข้าไปสู่ในกระบวนการวิเคราะห์ ความอับอาย และความผิด แทนที่จะทำการตัดสิน เราสามารถเปิดตัวเราไปสู่กระบวนการมองเห็นการตัดสินและค้นพบว่ามันมีต้นกำเนิดมาจากอะไรและสามารถเสนออะไรได้บ้าง

  1. การระงับอารมณ์

หากเราไม่แสดงความรู้สึกในการสื่อสารไปยังผู้อื่น แต่กลับใช้พลังความยับยั้งชั่งใจแทน เราจะมีพลังที่น้อยลงสำหรับการเรียนรู้ นอกจากนี้ ความรู้สึกสามารถรับหน้าที่สำคัญในกระบวนการเรียนรู้โดยการเสนอประสบการณ์ที่สำคัญ

  1. จงมีสติในการรับรู้ตัวตนของเรา

วิถีชีวิตและสถานะที่กระตือรือร้นของเรา คือ การมีส่วนร่วมที่ชัดเจน การมีตัวเลือกในการรับรู้ว่าเรากำลังแบกภาระอะไรอยู่ เรากำลังมีความกังวลใจเรื่องอะไร การเต้นของหัวใจที่รวดเร็ว และรอยยิ้มของเรา ทำให้เราทุกคนมีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้าใจการตอบสนองปัจจุบันของเรากับสถานการณ์ต่าง ๆ

 

  1. กำหนดวิสัยทัศน์ของตัวเอง

วิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ด้านสมองเชื่อว่า เมื่อจะต้องประสบกับปัญหา บุคคลนั้นก็ไม่สามารถปรับตัวได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เป็นของใหม่โดยสิ้นเชิง เราสามารถติดอยู่ในความหวาดกลัวของความคลุมเครือหรือรู้สึกอับอายได้อย่างง่ายดาย แต่ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ที่แน่นอน และหลังจากนั้นก็พยายามทำการตัดสินใจให้มีความสอดคล้องกับมัน เราก็จะสามารถพิจารณาว่าตัวเองสามารถบรรลุผลและมีความอัศจรรย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อแม้ก่อนที่เราจะเป็นเช่นนั้นด้วยซ้ำ

 

  1. การใฝ่หาที่อยากจะเรียนรู้

การใฝ่หาที่อยากจะเรียนรู้เป็นวิธีหนึ่งในการรับผิดชอบ สิ่งนี้ไม่เกี่ยวกับการโยนความรับผิดชอบไปให้กลุ่มเพื่อให้ฉันได้เรียนรู้ หรือให้กับครูในการออกแบบหลักสูตรที่ถูกต้อง หรือสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ฉันอยู่ในกรอบการเรียนรู้ที่ดี แต่การใฝ่หาที่อยากจะเรียนรู้นั้นคือการเริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด เราสามารถใช้ทุกช่วงเวลาเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้

 

  1. เข้าไปมีส่วนร่วมในความคลุมเครือ

ส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ใด ๆ คือ การเข้าสู่ระดับของความสับสน เรารู้ว่าความสับสนมักจะเป็นบ่อเกิดไปสู่การพัฒนา ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หมายถึงการก้าวออกนอกกรอบของตัวเองและก้าวเข้าสู่ความอึดอัดของความคลุมเครือ ตัวอย่างเช่น การทำความเข้าใจในใครที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม กล่าวคือ กระบวนการในการทำความเข้าใจในใครบางคนต้องมีขั้นตอนของการมีส่วนร่วมกับการไม่รู้จักคน ๆ นั้น ครูผู้เชี่ยวชาญด้านชนต่างวัฒนธรรม Barbara Schaetti เคยตั้งความท้าทายไว้ว่า ในสถานการณ์นี้ ฉันยังไม่รู้อะไรอีก

 

  1. เสียงสะท้อน

ในการกล่าวข้อเท็จจริงออกมาจะทำให้สิ่งที่กล่าวไว้สะท้อนไปยังผู้อื่น พฤติกรรมการสะท้อนนนี้ทำให้สามารถแยกประสบการณ์ภายในออกจากสถานการณ์ภายนอกได้ ในการปฏิบัติตาม Personal Leadership พวกเขามักพูดว่า จงตอบรับกับสิ่งที่สะท้อนออกมาว่าเป็นความจริงจากส่วนลึกภายใน การปฏิบัติที่เป็นทางการนั้นแตกต่างกันไปอย่างกว้างขวาง (ตั้งแต่ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไปจนถึงทางโลก) แนวทางของเราเปิดกว้างสำหรับ

 

การนำองค์ประกอบไปใช้

ดังนั้น หลังจากที่ระบุช่วงความแตกต่างนี้แล้ว สิ่งนี้จะมีประโยชน์อย่างไร วิธีหนึ่งที่ฉันพบว่ารายการนี้มีประโยชน์ คือ การนำอคติของตัวเองมาพิจารณาในฐานะผู้ฝึกสอน ฉันได้พัฒนาส่วนใดของภาชนะไปบ้าง (หรือมีการพัฒนาที่น้อยที่สุด) ในฐานะที่มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายและเป็นคนที่มักดิ้นรนกับจิตวิญญาณของตัวเอง ฉันพบว่าตัวเองกำลังขยายความสามารถในการรับรู้ตัวตนและลดการพึ่งเสียงสะท้อนมากขึ้น การรับรู้แนวโน้มของกับตัวเองสามารถทำให้ฉันสามารถทำงานได้หนักขึ้นเพื่อให้มีความสมดุล

นอกจากนี้ มันยังช่วยให้คิดเกี่ยวกับอคติของเราในชุมชนของผู้ฝึกสอนที่มีอิทธิพลต่อเรา พวกเขามักเน้นในด้านใดของภาชนะบ้าง สำหรับฉัน เพียงแค่เขียนรายการเครื่องมือที่ฉันเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบบางอย่างชี้ให้เห็นถึงอคติบางอย่าง จุดแข็งและจุดอ่อนของกล่องเครื่องมือของฉันอยู่ที่ไหน

แต่ความลำเอียงก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป หลาย ๆ กลุ่มที่เราทำงานด้วยจะต้องใช้บางองค์ประกอบของภาชนะมากกว่ากลุ่มอื่น ตัวอย่างเช่น นักเคลื่อนไหวที่ฉันทำงานด้วยอาจไม่ได้สัมผัสกับวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่มีอยู่ แต่มักจะมีวิสัยทัศน์ส่วนตัวที่ดีสำหรับตัวเอง (เช่น การเป็นผู้ประท้วงที่มีเสียงดัง หรือ ผู้จัดชุมชนที่ทรงพลัง) เรื่องนี้มีความสมเหตุสมผลพอสมควร เนื่องจากนักเคลื่อนไหวมักจะต่อต้านบรรทัดฐานและต้องมีตัวตนที่แข็งแกร่งเพื่อรักษางานของตัวเองไว้ ดังนั้น ฉันจึงต้องใช้เครื่องมือให้น้อยลงในการตั้งวิสัยทัศน์ แต่ใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจาก การใฝ่หาที่อยากจะเรียนรู้ และ การระงับอารมณ์ เนื่องจากเป็นข้อได้เปรียบสำหรับพวกเขา ผู้ดำเนินการประชุมที่ WorldWork ใช้การสร้างภาชนะของ การระงับอารมณ์ น้อยมาก (เพราะพวกเขาทำงานกับนักบำบัดหลายคนอยู่แล้ว) แต่ทำ การกำหนดวิสัยทัศน์ของตัวเอง มากกว่า (การกำหนดภาพของตัวเอง เช่น ตัวเองในฐานะผู้สูงอายุ)

ชุมชนที่แตกต่างกันจะพบกับความสมดุลที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และเมื่อทำการฝึกกับปัญหาที่แตกต่างกัน หนึ่งในบทเรียนจากการฝึกอบรมที่กล่าวถึงในตอนแรก คือความต้องการในการสร้างเครื่องมือการสร้างภาชนะเพิ่มเติมเพื่อรองรับ การใฝ่หาที่อยากจะเรียนรู้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ของตัวเอง และนั่นเป็นสิ่งที่มีเหตุผลที่ดีมาก เพราะการแทรกแซงโดยไม่ใช้ความรุนแรงของบุคคลที่สาม (Third-party non-violent intervention-TPNI) ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในการฝึกอบรมนั้น เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนส่วนใหญ่ – ดังนั้น พวกเขาจึงไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการรับรู้เรื่องดังกล่าว พวกเขาไม่ได้มีภาพของตัวเองว่าเป็น TPNI ที่มีประสิทธิภาพ และพวกเขาต้องการภาพที่จะเป็นแนวทางเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของพวกเขา ฉันกำลังค้นหาบทเรียนที่คล้ายกันในโครงการยุทธศาสตร์ ที่ซึ่งเรากำลังทำงานร่วมกับนักเคลื่อนไหวที่ไม่มีภาพของตัวเองที่แข็งแกร่งเหมือนกับประสิทธิภาพในการวางกลยุทธ์

 

วิธีสร้างความปลอดภัยภายในกลุ่ม

ในกรณีที่ผู้ดำเนินการประชุมสามารถสร้างความรู้สึกที่ความปลอดภัยได้ภายในกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มก็จะสามารถละทิ้งความคุ้นเคยเพื่อขยายและต่อยอด การให้มีความรู้สึกที่ไม่สบายใจเกิดขึ้นในลักษณะนี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าได้เกิดความรู้สึกที่ปลอดภัยขึ้นแล้ว

  • ให้กลุ่มได้มีจุดยืนร่วมกัน
  • ใช้กลุ่มเล็ก ๆ เป็นประจำ
  • ใช้ระบบบัดดี้หรือกลุ่มสนับสนุนขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง
  • ขอให้ผู้เข้าร่วมทำการตั้งเป้าหมายและทำการแบ่งปันเป้าหมายนั้น และทำการตรวจสอบเป้าหมายเป็นระยะ ๆ
  • อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลด้วยตนเอง - โดยที่แต่ละคนสามารถที่จะตั้งระดับของตัวเองได้
  • ในฐานะผู้ดำเนินการประชุม ควรให้ความสนใจอย่างอบอุ่น
  • แสดงให้กลุ่มเห็นว่าคุณเห็นคุณค่าของความปลอดภัย
  • ให้การสนับสนุนของการให้อภัย รวมถึงการให้อภัยตนเอง ซึ่งมันจะมันส่งเสริมให้มีการเสี่ยง
  • ทำ “การสังเกต (การสังเกตที่ไม่ตัดสิน การสังเกตที่ไม่ทำการประเมินใด ๆ ทั้งสิ้น)
  • เชิญกลุ่มให้ดูแลทั้งกลุ่ม (แม้ว่าจะไม่ใช่ “ผู้ดูแล ให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา)
  • แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ (เช่น แทนที่จะแสดงความวิตกกังวลเพราะผู้เข้าร่วมมีความโกรธ หรือแสดงอารมณ์ หรือกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ)
  • อย่าลืมที่จะปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวกับผู้เข้าร่วมที่มีความกังวล เช่น ในช่วงพัก หรือ ฝึกเพื่อนของเขา/เธอให้เอื้อมมือออกไปช่วยเหลือ
  • ออกแบบกิจกรรมเพื่อสลับจังหวะระหว่างการเน้นความแตกต่างและกิจกรรมรวมตัวกัน ความแตกต่างอาจหมายถึงประสบการณ์ของความแตกต่างในด้านปัจเจกบุคคลหรือประสบการณ์ของกลุ่มย่อย (“พวกเราคนผิวสี... พวกผู้ชายทั้งหมด...พวกเราชาวหนุ่มสาว... พวกเราเจ้าหน้าที่อาวุโส... พวกเราคณะกรรมการชุดใหม่ ")
  • ใช้โครงสร้าง (เช่น สูตรที่แม่นยำของการเติมประโยคให้สมบูรณ์ หรือ ข้อตกลงที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมของกลุ่ม) และความเคร่งครัด (เช่น เวลาพักที่เคร่งครัด ผู้ดำเนินการประชุมทำในสิ่งที่เขา/เธอพูดไว้)
  • เชิญผู้เข้าร่วมดูแลตัวเอง (ให้มีข้อตกลงกลุ่ม เช่น “ใช้ทุกอย่างเพื่อความก้าวหน้าของคุณเอง” “ดูแลตัวเองเพื่อให้คุณสามารถดูแลคนอื่นได้)
  • รับรู้ขอบเขตกับกระแสหลักของกลุ่ม
Previous article 30 คำถามวิ่งตามความสุขให้ชีวิต